๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑

แนวความคิดเรื่องการพัฒนาการเกษตรเพื่อรองรับวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารและพลังงานอย่างรุนแรงในอนาคต

โดย นายวิชัย สุภาโสด วิศวกรชลประทาน 8 วช
สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน
สวัสดีครับท่านผู้อ่านวารสารข่าวเกษตรชลประทาน พบกันอีกครั้งในฉบับเดือนมิถุนายน 2551 ในครั้งนี้ผมก็มีเรื่องมาเราให้ฟังเหมือนเดิมว่า ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการภาครัฐเชิงบรูณาการ ซึ่งจัดโดยสถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างวันที่ 12 – 16 พฤษภาคม 2551 ที่ จ.นครนายก ในการอบรมครั้งนี้ผมได้รับทราบความรู้และนวัตกรรมแปลกๆใหม่ๆที่ตื่นหูตื่นตาผมอย่างมากหลายเรื่อง และผมได้มีโอกาสพบเพื่อนเก่าสมัยที่ร่วมทำงานโครงการปรับโครงสร้างภาคการเกษตรที่กระทรวงเกษตร ฯ หลายคน ในระหว่างการอบรมหลักสูตรฯได้มีการนำเสนอเรื่อง วิกฤตการณ์การขาดแคลนอาหารและพลังงานของโลก ให้ทราบ ผมให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นหลังจากการอบรมฯแล้ว ผมก็ตั้งใจจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาการเกษตรเพื่อรองรับวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารและพลังงานอย่างรุนแรงในอนาคต มานำเสนอผู้อ่านวารสารข่าวเกษตรชลประทาน ให้ทราบ จึงได้ทำการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ตำหรับตำราที่สะสมไว้ พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลจากเพื่อนซึ่งทำงานที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลในแง่มุมต่างๆ และนำเสนอแนวความคิดในมุมมองของผมเรื่องการพัฒนาการเกษตรเพื่อรองรับวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารและพลังงาน ได้ดังนี้

จากสถานการณ์การผลิตสินค้าอาหารของโลกที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะข้าว ทำให้บางประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ และประเทศที่เคยส่งออกข้าวที่สำคัญ เช่น เวียดนาม อินเดีย ประสบปัญหาผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการส่งออก รวมทั้งมีการนำเอาพืชอาหาร เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการอาหารก็มีเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สินค้าพืชสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้นจนทำให้เกิดปัญหาการวิตกกังวลของประชากรโลกในเรื่องวิกฤตอาหารขาดแคลนนั้น ขณะเดียวกันในประเทศไทยก็ต้องรับปัญหาเรื่องน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลกมีราคาแพงขึ้นอย่างมหาโหดด้วย ดังนั้นจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ออกมารองรับสถานการณ์และแก้ไขปัญหาครั้งนี้ให้ได้ จากการที่ผมได้เข้าไปศึกษาข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรวมข้อมูลด้านการผลิตสินค้าทางด้านเกษตรที่เชื่อถือได้ที่สุดของประเทศไทยแล้ว เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสูง และมีโอกาสเป็นผู้นำในการผลิตอาหารโลกรวมทั้งสามารถรองรับการผลิตพืชพลังงานซึ่งใช้งานในประเทศได้ จึงขอนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบในอนาคต เป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. สถานการณ์การผลิตสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย มีดังนี้1.1 ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตร 130.28 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 40.62 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 320.7 ล้านไร่ ในจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรดังกล่าวเป็นพื้นที่นาประมาณ 57.0 ล้านไร่ โดยแต่ละปีปลูกข้าวนาปีประมาณ 57.0 ล้านไร่ และข้าวนาปรัง 11 ล้านไร่ สำหรับพื้นที่พืชไร่มีประมาณ 27.5 ล้านไร่ พื้นที่ไม้ผลไม้ยืนต้น 27.7 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นพืชอื่น ๆ 1.2 ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญรายใหญ่ของโลก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ทุเรียน ลำไย มังคุด สับปะรด เป็นต้น และยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกในสินค้าอาหารที่สำคัญได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และผลไม้ นอกจากนี้ บางสินค้า เช่น น้ำตาล ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลก1.3 ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง ส่วนใหญ่มีปริมาณผลผลิตพอเพียงกับการบริโภคภายในประเทศ และมีเหลือส่งออกนำรายได้เข้าสู่ประเทศมาโดยตลอด นอกจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และโคเนื้อที่มีปริมาณการผลิตใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคภายในประทศ สำหรับปี 2551 คาดว่าสถานการณ์การผลิตและความต้องการใช้สินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย มีดังนี้1.3.1 ข้าว พืชไร่ และพืชพลังงานข้าว ผลิตได้ 30.93 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 17.00 ล้านตันหรือร้อยละ 55 ของ ผลผลิต ส่งออก 13.93 ล้านตันหรือร้อยละ 45 ของผลผลิตมันสำปะหลัง ผลิตได้ 27.40 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศในรูปของมันเส้นเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์และในรูปแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อาหาร สารความหวาน กระดาษ สิ่งทอ เป็นต้นประมาณ 8.22 ล้านตันหรือร้อยละ 30 ของผลผลิต และส่งออกในรูปมันเส้น มันอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลัง 19.18 ล้านตันหรือร้อยละ 70 ของผลผลิตอ้อยโรงงาน ผลิตได้ 66.0 ล้านตัน หรือในรูปน้ำตาล 7.0 ล้านตัน เป็นความต้องการบริโภคภายในประเทศ 2.0 ล้านตันหรือร้อยละ 29 ของผลผลิต และส่งออก 5.0 ล้านตันหรือร้อยละ 71 ของผลผลิต
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลิตได้ 3.60 ล้านตัน ซึ่งผลผลิตภายในประเทศ เพื่อใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศปาล์มน้ำมัน ผลิตได้ 7.873 ล้านตัน หรือในรูปน้ำมันปาล์มดิบ 1.40 ล้านตัน ซึ่งเป็นการบริโภคภายในประเทศในรูปน้ำมัน 0.90 ล้านตัน และเพื่อผลิตไบโอดีเซล 0.35 ล้านตัน และส่งออก 0.15 ล้านตัน1.3.2 ผลไม้สับปะรด ผลิตได้ 2.25 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 0.3 ล้านตัน และส่งออกในรูปสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด 1.95 ล้านตันลำไย ผลิตได้ 0.50 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 0.05 ล้านตัน และส่งออกในรูป ลำไยสด และผลิตภัณฑ์ 0.45 ล้านตันทุเรียน ผลิตได้ 0.74 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 0.35 ล้านตัน และส่งออกในรูปทุเรียนสด ทุเรียนแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.39 ตันมังคุด ผลิตได้ 0.30 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 0.23 ล้านตัน และส่งออกในรูปมังคุดสด มังคุดแช่แข็ง 0.07 ล้านตัน 1.3.3 ปศุสัตว์สุกร ผลิตได้ 14.06 ล้านตัว หรือ 1.12 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 1.01 ล้านตัน และส่งออก 0.11 ล้านตัน ไก่เนื้อ ผลิตได้ 900.17 ล้านตัว หรือ 1.13 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 0.80 ล้านตัน และส่งออก 0.33 ล้านตันไข่ไก่ ผลิตได้ 9,341 ล้านฟอง ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 9,141 ล้านฟอง และส่งออก 200 ล้านฟอง โคเนื้อ ผลิตได้ 1.27 ล้านตัว หรือ 0.183 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 0.180 ล้านตัน กุ้งเพาะเลี้ยง ผลิตได้ 0.5 ล้านตัน ความต้องการบริโภคภายในประเทศ 0.13 ล้านตัน และส่งออก 0.37 ล้านตัน
2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น มีดังนี้2.1 จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ( ณ. วันที่ 20มิย. 51 ราคาน้ำมันดิบ บาร์เรลละ 145 ดอลล่าร์สหรัฐฯ หนึ่งบาร์เรลมีค่าประมาณ 159 ลิตร และน้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละ 43.78 บาท) เนื่องจากปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากำลังการผลิต ส่งผลให้ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายประเทศในโลกได้มีนโยบายส่งเสริมการประหยัดพลังงาน โดยการใช้พืชพลังงานทดแทน เช่น มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน ทำให้มีการแย่งพื้นที่ปลูกพืชอาหารไปปลูกพืชพลังงานทดแทนเพื่อผลิตพืชให้น้ำมัน เพื่อรองรับกระแสพลังงานทางเลือก อย่างเอทานอล และไบโอดีเซล เป็นต้น2.2 พืชอาหารสำคัญหลายชนิด ซึ่งเคยใช้เพื่อเป็นอาหารหรือเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารในอุตสาห-กรรมต่อเนื่อง เช่น แป้งจากมันสำปะหลัง น้ำมันจากปาล์มน้ำมัน น้ำตาลจากอ้อยโรงงาน เป็นต้น ได้ถูกนำบางส่วนไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ทำให้เกิดภาวะอาหารขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น2.3 จากการผลิตพืชพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตอาหารมีปริมาณผลผลิตลดน้อยลง ในขณะที่ความต้องการอาหารในตลาดโลกมีสูง ทำให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตอาหารจากพืชและสัตว์เพียงพอกับความต้องการสำหรับประชากรภายในประเทศ และมีเหลือส่งออกเลี้ยงประชากรโลกได้ แต่หากมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการส่งออก โดยไม่พิจารณาสถาน-การณ์ภายในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันราคาสินค้าเกษตรขยับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งค่าครองชีพอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา อาจส่งผลให้เกิดปัญหาวิกฤติอาหารขาดแคลนในประเทศได้ 2.4 จากการเปลี่ยนแปลงด้านกลไกตลาดและสภาวะโลกร้อน จะส่งผลให้ราคาข้าวอยู่ในระดับสูง อย่างต่อเนื่องได้ ถึงแม้ว่าอาจจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เป็นตัวเงิน (Nominal Income) เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อราคาสินค้าอาหารพื้นฐานในประเทศสูงขึ้น ย่อมจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ตามมาได้ และหากอัตราเงินเฟ้อนี้เพิ่มขึ้นสูงกว่ารายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้รายได้ที่แท้จริง (Real Income) ของเกษตรกรลดลงได้
3. แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาและผลกระทบในอนาคตแม้ว่าพืชอาหารและพลังงานที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และปาล์มน้ำ-มัน มีปริมาณผลผลิตเพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามจากความต้องการทั้งด้านอาหารและพลังงานของโลกก็ยังมีเพิ่มมากขึ้นด้วย และแนวความคิดที่จะปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกพืชอาหารมาปลูกพืชพลังงานแทน ก็อาจจะได้รับคำติเตียนและบอยคอต (boycottsหรือคว่ำบาตร)ทางการค้าจากประชา-กรโลกหรือสหประชาชาติได้ ดังนั้นแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เป็นไปได้ ก็ควรจะต้องมุ่งเน้นการรักษาพื้นที่ปลูกพืชอาหารไว้ให้คงเท่าเดิม แต่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงกว่าเดิมด้วย และสำหับพืชพลังงานที่จำเป็นบางตัว อาจจะต้องดำเนินการเพิ่มพื้นที่การปลูกร่วมไปกับการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ด้วย เพื่อลดการใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และใช้เงินตราต่างประเทศสูงเกินความจำเป็น ดังนั้นแนวทางที่จะนำมาใช้ในการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตต่อไร่นี้อาจ จะสามารถดำเนินการได้ โดยการเลือกใช้สายพันธุ์พืชดี ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ฯลฯ เป็นต้น โดยกำหนดเป้าหมายให้มีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไว้อย่างน้อยร้อยละ 10 เป็นต้น
สำหรับแนวทางการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานที่เหมาะสมควรเป็นดังนี้
3.1 ข้าว ให้คงพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ไว้ที่ 57 ล้านไร่ และข้าวนาปรัง 11 ล้านไร่ ไว้ตามเดิม แต่ส่ง-เสริมให้เพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 0.50 ตัน เป็นอย่างน้อย 0.70 ตัน สำหรับแนวทางการเพิ่มผลผลิตนั้นสามารถทำได้ โดยการสนับสนุนเรื่องระบบชลประทานในพื้นที่ที่ยังขาดอยู่ เพราะมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าผลผลิตข้าวในเขตชลประทานนั้นสามารถทำได้ถึง 0.60 – 1.00 ตันต่อไร่ สำหรับเรื่องสายพันธุ์ที่ดีนั้นได้ทราบข่าวว่าปัจจุบันกรมการข้าว สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ไฮบริดใหม่ๆ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 2.00 ตันต่อไร่ได้แล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการดำเนินการเรื่องนี้
3.2 มันสำปะหลัง ให้คงพื้นที่ปลูกไว้ที่ 7.4 ล้านไร่ และส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 3.7 ตัน เป็นอย่างน้อย 4.7 ตัน โดยมีสัดส่วนพื้นที่การปลูกเพื่อพลังงาน (ความต้องการพลังงาน) ร้อยละ 8.4 ของพื้นที่ปลูก (0.62 ล้านไร่) สำหรับแนวทางการเพิ่มผลผลิตนั้นสามารถทำได้ โดยการสนับสนุนเรื่องน้ำในพื้นที่บางแห่งที่ยังขาดอยู่ สำหรับเรื่องสายพันธุ์ที่ดีนั้นได้ทราบข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรว่า สำปะหลังสายพันธุ์ระยอง และสายพันธุ์ห้วยบงนั้น สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 4.50 – 5.00 ตันต่อไร่ เป็นอย่างน้อย ได้แล้ว 3.3 อ้อยโรงงาน ให้คงพื้นที่ปลูกไว้ที่ 6.0 ล้านไร่ และส่งเสริมให้ เพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 11.0 ตันเป็นอย่างน้อย 12.0 ตัน โดยมีสัดส่วนพื้นที่การปลูกเพื่อพลังงาน (ความต้องการพลังงาน) ร้อยละ 2.5 ของพื้นที่ปลูก (0.15 ล้านไร่) สำหรับแนวทางการเพิ่มผลผลิตนั้นสามารถทำได้ โดยการสนับสนุนเรื่องระบบชลประ-ทานในพื้นที่การปลูกอ้อย ซึ่งเดิมไม่มี เพราะมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าผลผลิตอ้อยในเขตชลประทานนั้นสามารถทำได้ถึง 15 – 22 ตันต่อไร่ เป็นอย่างน้อย 3.4 ปาล์มน้ำมัน ให้ขยายพื้นที่ปลูกจาก 3.0 ล้านไร่ เป็น 5.5 ล้านไร่ โดยส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มเติมในเขตนาร้าง ไร่ร้าง และพื้นที่เสื่อมโทรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 3.0 ตัน เป็นอย่างน้อย 3.5 ตัน โดยมีสัดส่วนพื้นที่การปลูกเพื่อพลังงาน (ความต้องการพลังงาน) ร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูก (1.65 ล้านไร่) สำหรับแนวทางการเพิ่มผลผลิตนั้นสามารถทำได้ โดยการสนับสนุนเรื่องน้ำในพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงที่ฝนขาดช่วงไป เพราะมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าในช่วงขาดฝนนี้หากต้นปาล์มน้ำมันกำลังออกดอกและออกผลแล้ว เกษตรกรจะต้องหาน้ำเสริมรดต้นปาล์มน้ำมัน ประมาณ 70 ลิตรต่อต้นต่อช่วงเวลา 3 วัน มิเช่นนั้นผลผลิตจะลดลง สำหรับเรื่องสายพันธุ์ที่ดีนั้นได้ทราบข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรปัจจุบันมีสายพันธุ์ไฮบริดใหม่ๆ สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 4.00 – 5.00 ตันต่อไร่ เป็นอย่างน้อย ได้แล้ว
สำหรับบทสรุปในภาคท้ายนี้ จะขอชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันโลกประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้พืชอาหารขาดแคลนลง ประกอบกับการเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันปิโตรเลียมทวีราคาแพงขึ้นอย่างโหดร้ายทารุณ… จากสมัยก่อนราคาน้ำมันดิบ บาร์เรลละ 40 - 50 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปัจจุบันมีราคา บาร์เรลละ 145 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ( 1 บาร์เรลมีค่าประมาณ 159 ลิตร) และน้ำมันเบนซิน 95 ในอดีตราคาลิตร ละ 17 - 20 บาท แต่ในปัจจุบันราคาลิตรละ 43.78 บาท ทำให้ประเทศไทยต้องรับผลจากชะตากรรมครั้งนี้ด้วย เกษตรกรไทยซึ่งเดิมเคยผลิตพืชอาหารเป็นหลัก และนำผลิตบางส่วนส่งออกไปเลี้ยงประชากรโลก ต้องปรับเปลี่ยนเป็นการปลูกพืชพลังงานแทน หากปล่อยให้ดำเนินการอย่างนี้ไปนานๆ ก็อาจจะได้รับคำติเตียนและบอยคอต (boycottsหรือคว่ำบาตร) ทางการค้าจากประชากรโลกหรือสหประชาชาติได้ ดังนั้นสมควรจะต้องกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและผลกระทบในอนาคตให้ชัดเจน และจากข้อมูลเรื่องพื้นที่การเกษตรที่มีอยู่ พบว่าปัจจุบันประเทศไทยใช้พื้นที่ของประเทศไปทำการเกษตรมากเกินไปแล้ว หากเพิ่มการใช้พื้นที่การเกษตรมากกว่านี้ จะต้องไปกระทบกับพื้นที่ป่าไม้ ต้นน้ำลำธารแน่ๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่แก้ไขลำบากตามมา ดังนั้นแนวทางที่นำมาใช้ควรเป็นการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตต่อไร่แทน ซึ่งอาจสามารถดำเนินการได้โดยการเลือกใช้สายพันธุ์พืชดีๆ ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ฯลฯ เป็นต้น พร้อมกับกำหนดเป้าหมายให้มีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จากเดิมไว้อย่างน้อยร้อยละ 10 เป็นต้นไป โดยภาครัฐจะต้องให้การสนับสนุนในการวิจัยหาสายพันธุ์พืชดีๆ ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง พร้อมทั้งสนับสนุนเรื่องปัจจัยการผลิต และน้ำชลประทาน ต่อไป